สเตียรอยด์ (Steroid) ประโยชน์หรือโทษรู้ก่อนใช้!

Last updated: 7 ส.ค. 2566  |  5888 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สเตียรอยด์ (Steroid) ประโยชน์หรือโทษรู้ก่อนใช้!

          ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผิวขาวว่างจำหน่ายในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีหลายแบรนด์ที่เคลมให้เห็นผลไว โดยแอบใส่สเตียรอยด์เข้าไปเพื่อให้เห็นผลทันทีแต่ไม่ได้คำนึงถึงผลข้างเคียงที่ตามมา สเตียรอยด์คืออะไร ?  ทำไมคนถึงนิยมนำมาใช้ มิสเดอร์รวมข้อมูลมาให้แล้วค่ะ

สเตียรอยด์ (Steroid) มีชื่อเต็มว่า คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ซึ่งสเตียรอยด์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  • ประเภทแรก คือ สเตียรอยด์ธรรมชาติที่ร่างกายสร้างเองได้ เป็นกลุ่มฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นในปริมาณเพียงเล็กน้อย สร้างมาจากต่อมหมวกไตชั้นนอก ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานในระบบต่างๆในร่างกาย ตัวอย่างเช่น ต้านการอักเสบ ลดอาการปวด ควบคุมสมดุลน้ำและเกลือแร่ นอกจากยังเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานเป็นปกติอีกด้วย

  • ประเภทที่สอง คือ สเตียร์รอยด์สังเคราะห์ที่บริษัทยาสร้างขึ้น เพื่อใช้รักษาทางการแพทย์ มีหลากหลายรูปแบบทั้งยาฉีด ยาพ่น ยาเม็ด ยาทา และเราอาจพบเห็นสเตียรอยด์เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางอยู่ช่วงหนึ่ง ซึ่งสเตียรอยด์มีฤทธิ์ยับยั้งสารที่ช่วยสร้างเม็ดสีในผิว ส่งผลให้การผลิตเม็ดสีลดลงและผิวขาวขึ้น แต่จริง ๆ แล้วไม่ควรนำมาใช้ในเครื่องสำอาง เพราะตัวเสตียรอยด์มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย มีผลเสียหากใช้ไม่ถูกต้อง 

 

 

สเตียรอยด์ (Steroid) สารอันตราย โทษมากกว่าที่คิดผลดีระยะสั้น ผลเสียระยะยาว

 

สเตียรอยด์ มีสรรพคุณรักษาได้อย่างหลากหลายและกว้างขวาง เช่น ช่วยลดการอักเสบ ช่วยควบคุมสมดุลน้ำและเกลือแร่ กดภูมิคุ้มกัน และช่วยลดการสร้างเม็ดสีในผิว ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในท้องตลาดบางแบรนด์แอบนำสเตียรอยด์มาใช้เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของสูตร เพื่อให้เห็นผลไวขึ้น เช่น ขาวขึ้น ฝ้า กระ จุดด่างดำจางลงภายในระยะเวลาสั้นๆ โดยไม่คำนึงถึงผลข้างเคียงในระยะยาวที่จะตามมา ซึ่งการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของสารสเตียรอยด์ ยาทาเสตียรอยด์ในความเข้มข้นสูง ใช้ผิดวิธี และ ใช้เป็นระยะเวลานานต่อเนื่องอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงทั้งภายนอกและภายใน โดยทำให้ผิวบางแพ้ง่ายขึ้น อาจก่อให้เกิดสิวและติดเชื้อ เส้นเลือดขยาย ภูมิคุ้มกันลดลง เป็นต้น

 

 

โครงสร้างของสารเสตียรอยด์

 

สเตียรอยด์เป็นลิพิดที่มีโครงสร้างคาร์บอน 17 อะคอมหรือวงแหวน 4 วง : ไซโคลเฮกเซน 3 วง, ไซโคลเพนเทน 1 วง เชื่อมต่อกัน ความแตกต่างของชนิดสเตียรอยด์จะผันแปรตามฟังก์ชัลนัลกรุ๊ปที่ติดอยู่กับวงแหวนเหล่านั้น ซึ่งทำให้สเตียรอยด์มีนับร้อยชนิดแตกต่างกันไป

สเตียรอยด์แบ่งเป็นประเภทหลักๆ ดังนี้

 

เพรกนิโนโลน (pregnenolone)

สร้างมาจากคอเลสเทอรอล และเป็นสารตั้งต้น ของสเตรอยด์ฮอร์โมนอีกหลายตัว

 

 

โพรเจสเทอโรน (progesterone)

สร้างจาก เพรกนิโนโลน หลั่งจากคอร์ปัสลูเทียม ซึ่งมีผลต่อการหนาตัวของเยื่อบุมดลูก และการเปลี่ยนแปลง หน้าที่ของท่อต่อมน้ำนม

 

 

แอลโดสเทอโรน (aldosterone)

เป็นฮอร์โมนที่สำคัญ ที่สร้างจากต่อมหมวกไตส่วนนอก มีบทบาทในการเพิ่มระดับความดันโลหิต เพิ่มระดับแคลเซี่ยม และเพิ่มระดับสารน้ำของร่างกาย

 

 

เทสโทสเทอโรน (testosterone)

หรือแอนโดเจน เป็นฮอร์โมนเพศชาย สร้างจากอัณฑะ มีหน้าที่ในการกระตุ้นให้เด็กชายเข้าสู่วัยรุ่น

 

 

อีสตราไดออล (estradiol)

เป็นอีสโทรเจนประเภทหนึ่ง สร้างจากรังไข่ ทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้เด็กหญิงเข้าสู่วัยรุ่น

 

 

คอร์ติซอล (cortisol)

เป็นฮอร์โมนที่ สำคัญที่สร้างจาก ต่อมหมวกไตส่วนนอก มีบทบาท ในการตอบสนองต่อความเครียด เพิ่มระดับความดันโลหิต เพิ่มระดับแคลเซี่ยม และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

 

 

ผลเสียต่อผิวหน้าและผิวกาย

 

  ผิวหนังบาง

สเตียรอยด์ทำให้ผิวบางลงจนสังเกตเห็นเส้นเลือดฝอย การใช้ครีมที่มีสารสเตียรอยด์นานๆ จะทำให้ผิวบางลง จนมลภาวะ สารพิษต่างๆ เข้าสู่ชั้นผิวหนังแท้ได้ง่าย และเมื่อเกิดการอักเสบและการบวมของชั้นหนังแท้ เกิดเป็นแผล สเตียรอยด์จะเข้าไปสร้างคอลลาเจนตามแนวแผล กลายเป็นรอยนูนและผิวแตกลาย

  เส้นเลือดที่ผิวหนังแตกง่าย

สเตียรอยด์มีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัวและแตก เกิดเป็นปื้นแดง นอกจากนี้สเตียรอยด์ยังทำลายเส้นคอลลาเจนและอิลาสตินรอบเส้นเลือดที่อยู่มต้ผิวหนัง จนเกิดการหลวมตัว เส้นเลือดจึงแทรกผ่านชั้นผิวหนังขึ้นมาและมองเห็นชั้นด้วยตาเปล่า

  ผิวอักเสบมีผื่นแดง

สเตียรอยด์จะเข้าไปกดภูมิคุ้มกันของร่างกายไว้ ทำให้ผิวดูแข็งแรง แต่ทันทีที่หยุดใช้สเตียรอยด์ ภูมิคุ้มกันที่เคยถูกกดไว้จะกลับมาทำงานมากกว่าเดิมและก่อให้เกิดอาการแพ้ต่างๆอย่างรุนแรงกับผิว เช่น ผื่นแดง ผิวอักเสบ เป็นต้น 

  สิวเสตียรอยด์

สเตียรอยด์จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างตัวรับที่ทำงานเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันตัวหนึ่งขึ้นมา ชื่อว่า “TLR2” ซึ่ง receptor TLR2 ตัวนี้จะทำหน้าที่ตรวจหาเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายโดยเฉพาะ เมื่อเชื้อแบคทีเรียต้นเหตุหนึ่งของสิวอย่าง P.acne หรือเชื้อราต้นเหตุของรูขุมขนอักเสบเข้าสู่ร่างกาย TLR2 จึงตอบสนองอย่างรวดเร็วและกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ เกิดเป็นสิวสเตียรอยด์ตามมา 

 

 

ผลเสียต่อระบบร่างกาย 

 

  ภูมิคุ้มกันลดลง

สเตียรอยด์ช่วยกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย จึงทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง ส่งผลให้ติดเชื้อง่าย แผลหายช้า และบางทีสเตียรอยด์อาจปิดบังอาการแสดงของโรคติดเชื้อ ทำให้เชื้อลุกลามและรุนแรงได้

  ทำให้กระดูกพรุน

สเตียรอยด์ช่วยให้กระดูกพรุน แตกหักง่าย ดังนั้นผู้ป่วยโรคไขกระดูก ผู้สูงอายุหรือผู้อยู่ในวัยทอง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ควรตรวจภาวะกระดูกพรุนหรือปรึกษาหมอก่อนใช้ยา

  ทำให้อารมณ์แปรปรวนง่าย

การใช้สเตียรอยด์ในปริมาณสูง จะทำให้เกิดอารมณ์เป็นสุข จึงทำให้ผู้ใช้ใช้จนติด แต่หากใช้เป็นระยะเวลานาน อาจพบอาการผลข้างเคียงตามมาได้ ตัวอย่างเช่น คลื่นไส้ อาเจียน กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ หงุดหงิด เป็นต้น 

 

วิธีการป้องกันอันตรายในสาร Steroid (เสตียรอยด์)

 

เมื่อเราทราบถึงข้อดีและข้อเสียของสเตียรอยด์มากขึ้นแล้ว เราควรคำนึงถึงข้อควรระวังและการป้องกันต่อ โดยควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสถานที่จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีเครื่องหมายรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ศึกษาฉลากบรรจุภัณฑ์ของเครื่องสำอางอย่างครบถ้วน เพื่อความปลอดภัยและป้องกันผลข้างเคียงจากเครื่องสำอาง

          โรงงานรับผลิตเครื่องสำอาง ครีม และสบู่ บริษัท เดอร์มา อินโนเวชั่น จำกัด รับผลิตสินค้าโดยใช้สารสกัดที่ปลอดภัย มีมาตรฐาน มีเอกสารความปลอดภัยจากผู้ผลิต ปราศจากอันตราย อีกทั้งยังการันตีด้วยคุณภาพ และมาตรฐานระดับสากล GMP ASEAN, ISO 9001, ISO22716, FDA, Green Industry, HALAL

และมีบริการนำส่งตรวจหาสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมทั้งมีเครื่องหมายรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทุกผลิตภัณฑ์ หากท่านใดสนใจสอบถามหรือปรึกษา สามารถติดต่อได้ที่

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้