เรื่องที่คุณยังไม่รู้เกี่ยวกับ “เส้นผม”

Last updated: 8 Mar 2019  |  36615 Views  | 

เรื่องที่คุณยังไม่รู้เกี่ยวกับ “เส้นผม”

     โดยธรรมชาติเส้นผมบนศีรษะคนเราจะมีประมาณ 1 แสนเส้น แต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจเรื่อง เส้นผม จนกระทั่งสังเกตเห็นผมร่วงเกิดขึ้นมากจึงตกใจ แท้จริงแล้วการที่มีผมร่วง 10-80 เส้นต่อวันเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากเป็นวงจรของเส้นผมของเรานั้นเอง แต่บางครั้งคนเราไม่ทันสังเกตว่าผมของตนร่วงมากกว่าผมที่ขึ้นมาใหม่ ทำให้ผมเริ่มบางสะสมขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ยิ่งทำให้เห็นชัด หากไม่ใส่ใจดูแลรักษา ปล่อยไปเรื่อยๆ จากผมบางก็จะกลายเป็นศีรษะล้านในที่สุด วันนี้มิสเดอร์มาฯ จะพาเพื่อนๆ มาทำความรู้จักกับเส้นผมให้มากขึ้นกันค่ะ
 
 
หน้าที่หลักของเส้นผม

     เส้นผมมีหน้าที่หลักในการปกป้องหนังศีรษะ ไม่ให้เสียความร้อนมากเกินไป ไม่ใช่เรื่องความสวยงาม แต่ในสายตาของคนส่วนใหญ่ ความสวยงามคงเป็นหน้าที่หลักของเส้นผมอย่างปฏิเสธไม่ได้

 


โครงสร้างของผม

     เส้นผม (hair shaft) เป็นเซลล์ส่วนที่ตายแล้ว ไม่มีชีวิต และความรู้สึก เป็นส่วนที่งอกเจริญยาวออกมาปกคลุมศีรษะ มีลักษณะโครงสร้างภายในต่างกันไปสำหรับผมชนิดต่างๆ ทำให้ปรากฏให้เห็นภายนอกได้ต่างกัน ถ้านำเส้นผมมาตัดขวาง จะแยกส่วนประกอบ ได้ 3 ชั้น คือ

     1. ผิวนอก (Cuticle) อยู่ชั้นนอกสุด โปร่งแสงไม่มีสี เป็นเกล็ดใสๆ ที่เรียงซ้อนกันแบบเกล็ดปลา หนาประมาณ 0.5-1 ไมครอน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 10% ของเส้นผม ชั้นนี้จะช่วยป้องกันการซึมผ่านของสิ่งสกปรกที่จะเข้าไปทำลายเส้นผม และยังช่วยปกป้องชั้นในเนื้อผมไม่ให้สูญเสียความชุ่มชื้น,เม็ดสี รวมถึงน้ำมันตามธรรมชาติซึ่งช่วยให้ผมดูเป็นเงา

     2. เนื้อชั้นนอก (Cortex) เป็นชั้นที่มีความหนาที่สุด D 3-6 L 50-100 ไมครอน ประกอบด้วยเซลล์รูปกระสวยคล้ายเส้นใยเรียงอัดกันแน่นตามยาว เนื้อผมชั้นนอกเป็นแหล่งรวมของเม็ดสี เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นตัวกำหนดสีผม มีช่องอากาศ โปรตีน เคราติน และเส้นใยโปรตีนที่เกาะเกี่ยวกันกำหนดโครงสร้างตามธรรมชาติ ช่วยให้ผมมีความนิ่ม ยืดหยุ่น

     3. เนื้อชั้นใน (Medulla) แกนผมจะอยู่ชั้นในสุด เป็นเซลล์ลูกเต๋าเรียงกัน 3-4 ชั้น และมีเซลล์ Nucleated cell เรียงกันแน่น เกิดจากโปรตีนและไขมัน ซึ่งจำนวนเซลล์นั้นจะลดลงทางปลายผม และแกนผมไม่มีบทบาทในการทำงาน ส่วนมากจะพบในผมที่มีสภาพแข็งแรง และผมเส้นเล็กมักไม่มีแกนผม

 


ตัวอย่างผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม
Hair Recovery Serum (BHR)
ซีรั่มเสริมสร้าง และดูแลเส้นผม คิ้ว ขนตา ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ ช่วยเพิ่มปริมาณของเส้นผมให้หนาแน่นขึ้น พร้อมทั้งช่วยดูแลและลดปัจจัยการเกิดผมร่วง

 

วงจรชีวิตของเส้นผม

     Hair จะมีระยะเจริญเติบโต (Growth) หยุดเจริญเติบโต (Involution) และระยะพัก (Resting)เส้นผมแต่ละเส้นจะผ่านระยะที่ 1 ไปสู่ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ตามลำดับ และจะย้อนกลับมายังระยะที่ 1 ใหม่ เป็นวัฏจักรชีวิตของเส้นผม ระยะของ hair แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
     

     1. Anagen (ระยะเจริญเติบโต): เป็นระยะที่เส้นผมมีความงอกงาม มีช่วงเวลา 2 ถึง 8 ปี เมื่อเราอายุมากขึ้นระยะนี้จะลดลง โดยเฉลี่ยเส้นผมคนเรางอกอย่างน้อย 1 เซนติเมตรต่อเดือน

     2. Catagen (ระยะหยุดเจริญเติบโต): ระยะหยุดงอก โดยเซลล์รากผมจะค่อยๆแยกตัวออกจากเส้นผม ทำให้เส้นผมขาดสารอาหารและความแข็งแรง ระยะนี้มีช่วงเวลา 2 – 4 สัปดาห์

     3. Telogen (ระยะพัก): ในระยะพัก มีช่วงเวลา 3 – 4 เดือน โดยเส้นผมเดิมจะหลุดไป และเส้นผมใหม่จะงอกขึ้นมาแทน

     ผมประกอบด้วยโปรตีนเป็นส่วนใหญ่ 65-95% โดยน้ำหนัก ไขมัน 25% มีน้ำในปริมาณไม่แน่นอน (สามารถดูดน้ำได้ถึง 40% ของน้ำหนักผมแห้ง) ผมประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ คาร์บอน 45.2% โฮโดรเจน 6.6% ออกซิเจน 27.9% ไนโตรเจน 15.1% และซัลเฟอร์ 5.2% เส้นผมมีพันธุกรรมกำหนดชนิด ขนาด สี ปริมาณ การกระจายของเส้นผม และอายุของต่อมผม เส้นผมจึงแตกต่างกันในแต่ละบุคคล

 

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม

 

     ผมร่วงเกิดในบางส่วนของหนังศีรษะ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ (pattern) จากการศึกษาพบว่าทั้งในชายและหญิงจะมีฮอร์โมนชายสร้างจากต่อมหมวกไต ได้แก่ ฮอร์โมนเทสโทสโตโรน (Testosterone) และไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (dihydrotestosterone, DHT) ฮอร์โมนจะกระตุ้นขนรักแร้ ขนบริเวณหัวเหน่าและเครา ให้เปลี่ยนเป็นเส้นผมหนาดำ หยาบ และยาวขึ้น กระตุ้นการสร้างอสุจิ ขนาดอวัยวะเพศ เสียง ความรู้สึกทางเพศ และเร่งให้มีการผลัดเส้นผมในบริเวณเหนือหน้าผาก และกลางกระหม่อมเพิ่มขึ้น โดยอายุเส้นผมระยะเจริญสั้นลง ผมจึงหลุดร่วงก่อนกำหนด ส่วนเส้นผมใหม่ที่ขึ้นแทนเส้นจะเล็กและสั้นลงตามลำดับ เพราะขนาดรากผมเล็กลงและฝ่อไปในที่สุด
 
     เส้นผมของชายในบริเวณดังกล่าวจะตอบสนองต่อฮอร์โมน DHT มากกว่า และพบว่ารากผมบริเวณดังกล่าวจะมีเอนไซม์ type 2-5 reductase สูงขึ้นด้วย เอนไซม์ชนิดนี้เปลี่ยน testosterone เป็น DHT ซึ่งมีฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชายสูงกว่า จึงยิ่งกระตุ้นให้อายุของต่อมผมสั้นลง ในหญิงเส้นผมบริเวณดังกล่าวก็มี receptor สูงเช่นกัน แต่กลับไม่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับชาย เพราะในหญิงมีระดับเอนไซม์ cytochrome P450 aromatase สูงกว่าชายถึงร้อยละ 80 เอนไซม์นี้สามารถเปลี่ยน testosterone เป็นฮอร์โมนหญิง estradiole ซึ่งช่วยต่อต้านฤทธิ์ของฮอร์โมนชายได้ ส่วนในชายศีรษะล้านตรวจไม่พบเอนไซม์นี้เลย

 

 

อายุ vs วงจรชีวิตของเส้นผม

 

  • ในวัยเด็กจนถึงอายุ 30 ปี เส้นผมจะอยู่ในระดับงอก มากกว่า 90% ดังนั้น ช่วงนี้ ผมจึงดูดกและหนาแน่นมากที่สุด
  • ช่วงอายุ 30 - 50 ปี เส้นผมจะอยู่ในระยะงอก จะลดลงเล็กน้อยเกือบคงที่
  • ช่วงอายุ 50 - 60 ปี เส้นผมที่อยู่ในระดับงอก จะค่อยๆลดลงทีละน้อย และขนาดของเส้นผมจะมีขนาดเล็กลง จึงทำให้เกิดอาการผมบางลงตามธรรมชาติระดับเล็กน้อย
  • ช่วงอายุมากกว่า 60 ปี เส้นผมที่อยู่ในระดับงอก จะลดลงอย่างเห็นได้ชัดในคนสูงอายุ

 

ที่มา : www.hairtsc.com, www.nakonluang.com





    "เชื่อว่าหลายท่านอ่านจบแล้ว คงได้รู้จักกับเส้นผมของตัวเองมากขึ้นนะคะ การดูแลสุขภาพของเราให้ดีอยู่เสมอ ก็ช่วยให้เส้นผมของเราแข็งแรง ไม่ขาดร่วงง่ายเช่นกันนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้า..สวัสดีค่ะ"

มิสเดอร์มา
by Derma Innovation

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy