มาทำความรู้จัก Postbiotics นวัตกรรมใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจในวงการอาหารเสริม

Last updated: 18 พ.ย. 2567  |  193 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Postbiotics

มาทำความรู้จัก Postbiotics นวัตกรรมใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจในวงการอาหารเสริม

 
Postbiotics คือ ผลผลิตที่ได้จากการหมักของแบคทีเรียกลุ่ม โพรไบโอติกส์ (Probiotics) โดยเกิดจากการที่โพรไบโอติกส์ไปเจอกับอาหารกลุ่มไฟเบอร์ อย่างพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ทําให้เกิดการหมักและได้ผลิตสารสําคัญออกมาที่เรียกกันว่า โพสต์ไบโอติกส์โดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลําไส้ โดยธรรมชาติแล้วจะปล่อยสารโพสต์ไบโอติกส์ ซึ่งช่วยทําหน้าที่ให้ระบบลําไส้ของเราทํางานเป็นปกติ

 
สารที่เกิดจากกระบวนการหมักของจุลินทรีย์ดี (Probiotics)

ซึ่งสารพลังงานที่ผลิตขึ้นจากการหมักที่เรียกว่า Short-Chain Fatty Acids (SCFAs) โดย SCFAs ที่ได้จากการหมักของเชื้อโพรไบโอติกส์มี 3 ประเภทคือ อะเซเตรต (Acetate), โพรพาโนเอต (Propionate), และ บิวเทรเรต (Butyrate) ซึ่งพบมากที่สุดในกระเพาะอาหาร โดยส่วนใหญ่จะสร้างโดยจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหาร

SCFAs มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของร่างกายมากมาย เช่น ทำหน้าที่ช่วยเสริมสร้างเซลล์เยื่อบุในลำไส้ให้แข็งแรงและป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ, ช่วยลดการอักเสบและยังช่วยในการปรับปรุงสมดุลของการออกซิเจนและคาร์บอนไฮเดรตในสมอง

ประโยชน์ของ Postbiotics มีหลายอย่าง เช่น:

มีความสำคัญต่อกระบวนการย่อยอาหารในลำไส้ โดยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมสารอาหาร โดยการกระตุ้นเอนไซม์ที่ช่วยในกระบวนการย่อยอาหาร กระตุ้นกระบวนการในลำไส้ในการสร้างสารเคมีที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามิน แร่ธาตุ และกรดไขมัน ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำหรับเซลล์เยื่อบุลำไส้และมีผลต่อสุขภาพของลำไส้ ทำให้กระบวนการย่อยอาหารเป็นไปอย่างสมดุลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น


สามารถลดการอักเสบในลำไส้ โดยการช่วยลดการเจริญของเชื้อโรคที่อาจทำให้เกิดการอักเสบ  การได้ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และภูมิแพ้  อีกทั้งยังเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันภายในลำไส้ ทำให้สามารถป้องกันการเจริญของเชื้อโรคและลดอักเสบในร่างกายได้


บรรเทาอาการท้องร่วง โดยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ เนื่องจาก Postbiotics ทีผลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ดีในลำไส้ ได้แก่ จุลินทรีย์กลุ่ม Lactobacillus , Bifidobaterium  ซึ่งการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ดีในลำไส้จะส่งผลในการป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค เช่น Clostridium difficile


ส่งเสริมสุขภาพจิต สภาวะลำไส้ที่ดีสามารถมีผลต่ออารมณ์ของบุคคล เช่น การลดความเครียดและภาวะซึมเศร้า เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับระบบประสาทที่มีผลต่ออารมณ์และพฤติกรรมของบุคคล

 

ข้อควรระวัง

  • เด็ก ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกสูง เพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือมีผลข้างเคียงมากขึ้น
  • ที่มีโรคประจำตัวบางประการหรือใช้ยารักษาโรคใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนการรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของโพสไบโอติกและโพรไบโอติก
ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เป็นประจำ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้