ขายสินค้าออนไลน์ควรรู้! จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

Last updated: 25 ก.พ. 2565  |  3814 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ขายสินค้าออนไลน์ควรรู้! จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

การเริ่มต้นอาชีพ “พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์” สิ่งหนึ่งที่มือใหม่ไม่ควรมองข้ามคือการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้าออนไลน์ด้วยการ “จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” หลายคนคงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่มากพอสมควรว่าคืออะไร? จำเป็นต้องทำหรือเปล่า? แล้ววิธีจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทำได้อย่างไร? ในบทความนี้มิสเดอร์มารวบรวมข้อมูลต่างๆ มาให้แล้วค่ะ

 

การจดทะเบียนพาณิชย์คืออะไร?

การจดทะเบียนพาณิชย์ คือ การจดทะเบียนที่ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ต้องจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549  เพื่อยืนยันว่าธุรกิจของคุณดำเนินการอย่างถูกต้องและเสียภาษีตามกฎหมาย ร้านค้ามีมาตรฐานและตัวตนอยู่จริงในปัจจุบันการจดทะเบียนจะมีอยู่ 2 แบบ คือ

  การจดทะเบียนพาณิชย์ธรรมดา
  การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (สำหรับธุรกิจออนไลน์ต่างๆ)

 

ธุรกิจแบบไหนที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์?

  บุคคลหรือบริษัทที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่

  ผู้ทำการขายสินค้า/บริการ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน) 
  ธุรกิจให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP)
  ธุรกิจให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting)
  ธุรกิจให้บริการเป็นตัวกลางในการซื้อขายสินค้า/บริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต (E-Marketplace)


ผู้ที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะมีเครื่องหมาย DBD Registered ซึ่งเป็นเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่บนหน้าเว็บไซต์

 

ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

การทำให้ธุรกิจออนไลน์ถูกกฎหมายและมีตัวตนในระบบแล้วการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังมีข้อดีอื่นๆ อีกดังนี้

  ได้รับความน่าเชื่อถือ เป็นข้อดีข้อแรกที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้รับอย่างแน่นอน ลูกค้าเชื่อมั่นในสินค้าและบริการของร้าน
  ได้เผยแพร่ร้านค้าบนเว็บไซต์ของกรมธุรกิจการค้า หากร้านค้าของคุณเป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการจดทะเบียนพาณิชย์เรียบร้อยแล้ว ทางกรมธุรกิจการค้าจะนำรายชื่อไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ของกรมธุรกิจการค้าเพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ธุรกิจออนไลน์ของผู้ประกอบการและเป็นการการันตีว่าร้านค้านั้นผ่านการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เรียบร้อยแล้ว
  ได้รับสิทธิ์ในการเข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตร ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด

 

วิธีจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

เตรียมเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับพ่อค้าแม่ขายนั้นต้องเตรียมเอกสารสำหรับบุคคลธรรมดา ได้แก่

  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบการ

  แบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ หรือ ทพ. สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ www.dbd.go.th (กรอกเฉพาะข้อ 1-8)

  เอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกว่า เอกสารแนบแบบ ทพ. (ใช้กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์)

  พิมพ์หน้าแรกของร้านค้าออนไลน์ เช่น สินค้า/ บริการ/ วิธีการสั่งซื้อสินค้า/ วิธีการชำระเงิน/ วิธีการส่งสินค้า

  แผนที่ตั้งสถานที่ประกอบการ

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ประกอบกิจการอยู่ในกรุงเทพมหานครสามารถเดินทางไปที่สำนักงานเขตใกล้บ้าน หรือศาลาว่าการกรุงเทพมหานครได้เลยค่ะ ส่วนพ่อค้าแม่ออนไลน์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอื่นสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลได้เช่นกันค่ะ

 

การขอเครื่องหมาย DBD Registered 

สามารถทำได้หลังจากได้รับการอนุมัติการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว โดยต้องเตรียมเอกสารดังนี้

  สำเนาใบจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการอนุมัติแล้ว (แบบ พค. 0403)

  สำเนาเอกสารการจดโดเมนเนม

 

มิสเดอร์มาหวังว่าข้อมูลการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่นำมาฝากจะช่วยให้เจ้าของแบรนด์เข้าใจถึงความสำคัญและขั้นตอนต่างๆ ในการจดทะเบียนพาณิชย์มากขึ้นนะคะ

Derma-Innovation เราไม่ใช่แค่โรงงานผลิตแต่เราคือพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจที่พร้อมดูแลและให้คำปรึกษาด้านการตลาดดูแลจนขายดีในเส้นทางสายธุรกิจความงาม และเรายังเป็นโรงงานที่เป็นผู้นำด้านการผลิต 1 เดียวในไทย มีนวัตกรรม เทคโนโลยี และเครื่องจักรที่ทันสมัย รับผลิตครีม เครื่องสำอาง สบู่ อาหารเสริมแบบครบวงจร ควบคุมการผลิตด้วยมาตรฐานสากล พร้อมรองรับความต้องการด้วยสูตรมาตรฐานกว่า 200 สูตร และสามารถเลือกพัฒนาสูตรด้วยสารสกัดที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร การันตีคุณภาพ ความปลอดภัย ความมั่นใจที่คุณเชื่อถือได้มากที่สุด

 

ข้อมูลจาก : www.dbd.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้